25/11/58

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Average : MA และการกำหนดค่าที่นิยมใช้

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Average : MA และการกำหนดค่าที่นิยมใช้

บทความนี้เรามาดูการกำหนดค่าเฉลี่ยนเคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันว่า Moving Average หรือเรียกย่อ ๆ ว่า MA กันครับ

Moving Average นั้น จะเป็นการนำเอาข้อมูลและจำนวนวันมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นข้อมูลวันปัจจุบันและวันก่อนหน้า เช่นต้องการหาค่าเฉลี่ย 5 วันก็จะนับวันปัจจุบันและถอยหลับไปอีกสี่วันรวมกันก็เป็น 5 วัน ถ้าต้องการหาค่าเฉลี่ย 10 วันก็นับวันปัจจุบันเป็น 1 วันแล้วนับถอยหลังไปอีก 9 วันก็รวมเป็น 10 วัน ทำให้ข้อมูลเฉลี่ยเคลื่อนออกมาข้างหน้า ดังนั้นเราจึงเรียกว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

ดังนั้น ใครต้องการที่จะดูค่าเฉลี่ยจำนวนเท่าไหร่ ก็หาสามารถตั้งค่าได้ แต่ที่นิยมตั้งค่ากัน ก็มีอยู่หลาย ๆ ค่า คือ

5 วัน(1 อาทิตย์) เหมาะกับ นักลงทุนระยะสั้นมาก
10 วัน(2 อาทิตย์) เหมาะกับ นักลงทุนระยะสั้น
25 วัน(1 เดือน) เหมาะกับ นักลงทุนค่อยข้างปานกลาง
75 วัน(1 ไตรมาส) เหมาะกับ นักลงทุนระยะปานกลาง
200 วัน(1 ปี) เหมาะกับ นักลงทุนระยะยาว

ที่นิยมกันก็มีประมาณนี้ จะเห็นว่าเป็นการกำหนดตามช่วงเวลาที่ใช้กันหลากหลาย แต่ก็มีนักเทรดหลาย ๆ คนที่มีเทคนิค และวิธีการ โดยการเปลี่ยนค่าเฉลี่ยตามวันที่ตนถนัด สนใจ หรือรู้สึกว่าใช้ได้กว่าสำหรับตนเองขึ้นมา และส่วนมากจะถูกเก็บเป็นความลับของแต่ละคน 555

แค่นี้เราก็ได้รู้จักค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือ Moving Average กัน และการกำหนดค่าที่นิยมใช้กันแล้ว

21/11/58

กุ้งเครฟิช(Crayfish) สาย P กับสาย C

กุ้งเครฟิช(Crayfish) สาย P กับสาย C

บทความนี้เรามารู้จักกับสายพันธุ์ของกุ้งเครฟิช(Cryfish) กันครับ ซึ่งในไทยจะพบอยู่ 2 ชนิดคือ สาย P กับสาย C เรามาดูความแตกต่างระหว่าง 2 สายนี้กันครับ

กุ้งสาย P กุ้งกล้ามหนาม

กุ้งสาย C มีฐิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกา กล้ามเล็ก ช่วงลำตัวสั้น โตเต็มที่ยาวประมาณ 4-5 นิ้ว เลี้ยงง่าย โตเร็ว สีที่ขายดีได้แก่ สีแดง และสีฟ้า

กุ้งสาย C กุ้งกล้ามเรียบ

กุ้งสาย C มีฐิ่นกำเนินมาจากออสเตรเลีย กล้ามโต ลำตัวมีขนาดใหญ่ โตเต็มที่ยาวประมาณ 6-12 นิ้ว ชอบอาศัยอยู่ในน้ำเย็น ค่อนข้างเลี้ยงยาก จึงเหมาะกับนักเลี้ยงประเภทมือโปร

12/11/58

import static ใน Eclipse

import static ใน Eclipse

บทความนี้เรามาดูวิธีการ import static ใน Eclipse กันครับ เริ่มต้นด้วยโค้ดตัวอย่างที่เรามีดังนี้

package info.doesystem.howto;

public class DoesystemInfo {
 public static void main(String[] args) {
  System.out.println(Math.PI);
 }
}

จากโค้ดเราต้องการที่จะ import static java.lang.Math.PI ซึ่งถ้าเราพิมพ์เอง ถ้ามีตัวเดียวก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้ามีหลายตัวก็คงจะลำบาก ดังนั้น Eclipse จึงมีคีย์ลัดอยู่ที่เอาไว้ใช้สำหรับ import แบบ static

จากโค้ดให้เราเอาเคอเซอร์ไปวางไว้ที่ PI จากนั้นคลิกขวา เลือก Source จากนั้นก็เลือก Add Import ตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้โค้ดของเราก็ได้ static import แล้ว ตามรูปด้านล่าง

package info.doesystem.howto;

import static java.lang.Math.PI;

public class DoesystemInfo {
 public static void main(String[] args) {
  System.out.println(PI);
 }
}

จากตัวอย่างจะเห็นว่าเป็นการง่ายมากที่จะ import static แบบอัตโนมัติใน Eclipse ลองนำไปใช้กันดูครับ