26/4/59

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 เรื่อง การประมาณค่า

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 เรื่อง การประมาณค่า

ค่าประมาณ

ในทางคณิตศาสตร์นั้นจะเรียกการหาค่าซึ่งไม่ใช่ค่าที่แท้จริง แต่มีความละเอียดเพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้ว่า การประมาณ และจะเรียกการคำนวณที่ต้องการคำตอบอย่างรวดเร็วใกล้เคียงและเหมาะสมกับการนำไปใช้ว่า การประมาณค่า

ค่าที่ได้จากการประมาณเรียกว่า ค่าประมาณ

ตัวอย่างเช่น
ซื้อข้าวมันไก่ ราคาจานละ 34.50 บาท มีค่าประมาณเป็น 35 บาท
ซื้อข้าว ราคาถุงละ 7.25 บาท มีค่าประมาณเป็น 7 บาท

เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเขียน จึงใช้สัญลักษณ์ ≈ ในการประมาณค่า แทนคำว่า มีค่าประมาณ

ตัวอย่างเช่น
34.50 ≈ 34
7.25 ≈ 7

การปัดเศษ

การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นจำนวนเต็ม
ในการปัดเศษจำนวนเต็มใด ๆ ให้เป็นจำนวนเต็มสิบ จำนวนเต็มร้อย จำนวนเต็มพัน จำนวนเต็มหมื่น ฯลฯ ที่ใกล้เคียงที่สุด ในการพิจารณาปัดเศษจำนวนในหลักถัดไปทางขวามือ ถ้าตำกว่า 5 ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 5 ขั้นไปปัดขึ้น

ตัวอย่างเช่น 
ก.ปัดเศษ 54 เป็นจำนวนเต็มสิบ หลักสิบคือ 5 ถัดไปทางขวามือคือหลักหน่วย นั่นคือ 4 น้อยกว่า 5 ตัดทิ้ง ดังนั้น 54 ≈ 50
ข.ปัดเศษ 391 เป็นจำนวนเต็มร้อย หลักร้อยคือ 3 ถัดมาทางขวามือก็คือหลักสิบนั่นคือ 9 มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ปัดขึ้น ดังนั้น 391 ≈ 400
ค.ปัดเศษ 4,500 เป็นจำนวนเต็มพัน หลักพันคือ 4 ถัดมาทางขวามือก็คือหลักร้อยนั่นคือ 5 มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ปัดขึ้น ดังนั้น 4,500 ≈ 5,000

การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยม
การปัดเศษเมื่อปริมาณเป็นทศนิยม ใช้หลักทำนองเดียวกับการปัดเศษจำนวนเต็ม ดังนี้
1. ปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งที่หนึ่ง นั่นก็คือทางขวามือเหมือนกัน ว่าจะปัดขึ้นหรือตัดทิ้ง
2. การปัดเศษให้เป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งที่สอง นั่นคือทางขวามือ ว่าจะปัดขึ้นหรือปัดทิ้ง
3. การปัดเศษให้เป็นทิศนิยมมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง ให้พิจารณาทศนิยมตำแหน่งถัดไปหรือทางขวามือ ว่าจะปัดขึ้นหรือปัดทิ้ง

การนำการประมาณค่าไปใช้
ในการประมาณค่า สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ก็คือ ค่าที่ไดต้องเป็นค่าที่สามารถนำไปใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน และตัดสินใจผิดพลาด

- การประมาณค่าบางสถานการณ์สามารถใช้การปัดเศษได้
- ในบางสถานการณ์ไม่สามารถใช้การปัดเศษในการประมาณค่าได้ แต่ใช้ประมาณค่าที่เห็นว่าเหมาะสม สะดวกในการคำนวณและการนำไปใช้งานได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ในบางสถานการณ์ไม่ควรใช้การประมาณค่า แต่ควรใช้ค่าที่แท้จริงจะเหมาะสมกว่า

ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น