สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.1 เรื่อง การประยุกต์ 2
รูปแบบของจำนวน
คำว่า พาลินโดรม เป็นภาษากรีก แปลว่า วิ่งกลับไปที่เดิมอีก (running back again)
พาลินโดรม เป็นจำนวนนับที่เมื่อเขียนเลขโดดเรียงย้อนกลับจากหลังไปหน้าหรือจากขวาไปซ้าย แล้วจำนวนเดิม เช่น 5, 33, 212, 656 และ 989
ดูเรื่องพาลินโดรมเพิ่มเติมได้ที่นี่คลิก
จำนวนฟีโบนัชชี
เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี เป็นผู้นำระบบตัวเลขฮินดูอารบิกมาใช้อย่างแพร่หลายในยุโรป ด้วยการเขียนหนังสือเกี่ยวกับการคิดคำนวณชื่อ The Book of Abacus ในหนังสือเล่มนี้มีโจทย์ปัญหาข้อหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมาก คือ ปัญหาจำนวนกระต่ายในทุ่งหญ้า ปัญหานี้ทำให้ได้รูปแบบของจำนวนชุดหนึ่งซึ่งเรียงเป็นลำดับ ดังนี้ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, ... ลำดับดังกล่าวรู้จักกันกว้างขวางต่อมาว่า ลำดับฟีโบนักชี
นอกจากนี้ยังมีจำนวนในลำดับฟีโบนักชีปรากฏอยู่ในธรรมชาติ เช่น
1. จำนวนแถวของตาสับปะรดเรียงตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิการอบผลเป็น 8 และ 13 ตามลำดับ
2. จำนวนแถวของเกสรหรือเมล็ดทานตะวัน เรียงตามเข็มนาฬิกาและตามเข็มนาฬิกาเป็น 21 และ 34 ตามลำดับ
ดูเรื่องจำนวนฟีโบนัชชีเพิ่มเติมได้ที่นี่คลิก
ข่ายงาน
ข่ายงานมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่สิบแปด โดยเลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler) นักคณิตศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์
ข่ายงานเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อหารูปแบบในการแก้ปัญหาความรู้เกี่ยวกับงานข่ายจะช่วยวางแผนจัดเส้นทางการขนส่งเพื่อให้ประหยัดเงินและเวลามากที่สุด
ดูเรื่องข่ายงานเพิ่มเติมได้ที่นี่คลิก
การประยุกต์ของเศษส่วนและทศนิยม
ในเรื่องของเศษส่วนและทศนิยม เราสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการใส่วงเล็บและถอดวงเล็บมาช่วยในการคำนวณได้
การบวกลบเศษส่วนที่เป็นจำนวนคละ โดยวิธีทำจำนวนคละให้เป็นเศษเกินก่อนแล้วจึงหาผลบวกหรือผลลบ วิธีนี้อาจไม่สะดวกเมื่อต้องหาผลบวกหรือผลลบของจำนวนคละที่จำนวนเต็มมีค่าสัมบูรณ์มาก
เราสามารถแปลงเศษส่วนให้เป็นทศนิยมหรือแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วนได้ เช่น 5/10 = 0.5
การบวกและลบทศนิยม
การบวกและการลบทศนิยม จะต้องตั้งจุดทศนิยมให้ตรงกันก่อนแล้วจึงบวก ลบจำนวนในแต่ละหลัก ถ้าจำนวนตำแหน่งทศนิยมไม่เท่ากันให้เติมศูนย์ต่อท้ายเพื่อให้จำนวนตำแหน่งทศนิยมเท่ากัน
การคูณทศนิยม
การคูณทศนิยมใช้หลักเดียวกับการคูณจำนวนเต็ม แต่ผลลัพธ์จะมีจำนวนตำแหน่งทศนิยมเท่ากับผลบวกของจำนวนตำแหน่งทศนิยมของตัวตั้งและตัวคูณ
การหารทศนิยม
การหารทศนิยมควรทำให้ตัวหารทศนิยมเป็นจำนวนเต็มเสียก่อน จึงดำเนินการหาร
ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น