31/8/58

การสร้าง Java Package ใน Eclipse

การสร้าง Java Package ใน Eclipse

บทความนี้เรามาดูวิธีการสร้าง Java Package ใน Eclipse กันครับ

ก่อนอื่นก็ทำการเปิด Eclipse ขึ้นมา จากนั้นก็คลิกขวาที่ src แล้วเลือก New เลือก Package ตามรูปด้านล่าง


เมื่อเลือกแล้วจะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาให้ใส่ชื่อ Package ให้เราใส่ชื่อ Package ตามต้องการดังรูปด้านล่าง


จากนั้นให้กด Finish เราก็จะได้ Package ตามต้องการ


เพียงแค่นี้เราก็ได้ Package แล้ว เห็นไหมละ วิธีการสร้าง Java Package ใน Eclipse ง่ายมาก ๆ

การสร้าง Java Project ใน Eclipse

การสร้าง Java Project ใน Eclipse

บทความนี้เรามาดูวิธีการสร้าง Java Project ใน Eclipse กัน

อันดับแรกก็เปิด Eclipse ขึ้นมา แล้วให้เข้าไปที่ File เลือก New แล้วก็เลือก Other ตามรูปด้านล่าง


เมื่อเลือกแล้วจะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาเพื่อให้เราเลือก Project ดังรูปด้านล่าง


จากนั้นให้กด Next จะเข้าไปหน้าต่างดังรูป


ในหน้าต่างนี้ให้เราใส่ชื่อ Project เข้าไป แล้วก็ให้เลือก JRE จากนั้นก็เลือก Project Layout เราสามารถกด Next ต่อไปได้เพื่อตั้งค่าอื่น ๆ ของ Project หรือจะกด Finish เพื่อสร้าง Project เลยแล้วไปตั้งค่าทีหลังก็ได้

เมื่อได้แล้วเราก็จะได้โปรเจ็ค Java ตามที่เราต้องการ

30/8/58

การใส่ค่าและกำหนดรูปแบบ Data ให้กับ Cell Excel ใน Java Apache POI

การใส่ค่าและกำหนดรูปแบบ Data ให้กับ Cell Excel ใน Java Apache POI

จากบทที่แล้วเราได้ทำการ สร้าง Cell ใน Excel โดยใช้ Java POI กันไปแล้ว แล้วก็เซตค่าให้กับแต่ละ Cell แล้วแต่ว่าถ้าสังเกตุดูจะเห็นว่าเวลาเราใส่ค่าเวลา หรือ Date ให้กับ Excel แล้วจะเป็นตัวเลขที่เดายาก และอ่านยาก ดังนั้น บทนี้เรามาดูวิธีง่าย ๆ ในการกำนหนดรูปแบบ และ format ให้กับ Date ใน Java Apache POI กันครับ มาดูตัวอย่างโค้ดตามด้านล่างกัน

package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;
import java.util.Calendar;

import org.apache.poi.ss.usermodel.Cell;
import org.apache.poi.ss.usermodel.CellStyle;
import org.apache.poi.ss.usermodel.CreationHelper;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Row;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Sheet;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;
import org.apache.poi.xssf.usermodel.XSSFWorkbook;

public class ExcelDateValueFormat {
	public static void main(String[] args) {
		try (
			Workbook wb = new XSSFWorkbook();
			FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xlsx")
		){
			// create sheet
			Sheet sheet = wb.createSheet("new sheet");
			
			// create row
			Row row = sheet.createRow(0);
			
			// set Date value to cell
			row.createCell(0).setCellValue(Calendar.getInstance());
			row.createCell(1).setCellValue(Calendar.getInstance().getTime());
			
			// set Date value Format
			CreationHelper createHelper = wb.getCreationHelper();
			CellStyle cellStyle = wb.createCellStyle();
		    cellStyle.setDataFormat(createHelper.createDataFormat().getFormat("m/d/yy h:mm"));
		    
		    Cell cell2 = row.createCell(2);
		    cell2.setCellValue(Calendar.getInstance());
		    cell2.setCellStyle(cellStyle);
		    
		    Cell cell3 = row.createCell(3);
		    cell3.setCellValue(Calendar.getInstance().getTime());
		    cell3.setCellStyle(cellStyle);
		    
			wb.write(fileOut);

			System.out.println("SUCCESS");
		} catch (Exception ex) {
			System.out.println("Exception " + ex);
		}
	}
}

ผลลัพธ์ที่ได้จากการรันโค้ดข้างบนจะได้ประมาณนี้


จากผลลัพธ์เมื่อเทียบกับโค้ดจะเห็นว่าถ้าเราใส่ Date หรือ Calendar เข้าไปแบบไม่เซต format จะทำให้ค่าที่ได้เป็นตัวเลขที่อ่านยาก ดังนั้นการใส่ format สำหรับ Date ใน Excel จึงเป็นสิ่งที่ใช้กันหลาย ๆ ครั้ง

การสร้าง Cell ใน Excel โดยใช้ Java POI

การสร้าง Cell ใน Excel โดยใช้ Java POI

เราได้สร้าง sheet ใน excel กันไปแล้ว ต่อไปมาดูวิธีการสร้าง cell กันบ้าง ซึ่งก็เป็นวิธีการง่าย ๆ ในการสร้าง Cell ใน Excel โดยใช้ Java POI เราลองมาดูโค้ดที่ใช้ในการสร้าง Cell กันก่อนครับ ตามด้านล่าง

package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;
import java.util.Calendar;

import org.apache.poi.ss.usermodel.Cell;
import org.apache.poi.ss.usermodel.CreationHelper;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Row;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Sheet;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;
import org.apache.poi.xssf.usermodel.XSSFWorkbook;

public class NewCell {
 public static void main(String[] args) {
  try (
    Workbook wb = new XSSFWorkbook();
    FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xlsx")
   ){
    // create sheet
    Sheet sheet = wb.createSheet("new sheet");
    
    // create row
    Row row = sheet.createRow(0);
    
    // create cell
    Cell cell = row.createCell(0);
    
    // set value to cell
    cell.setCellValue(1);
    
    // other example
    row.createCell(1).setCellValue("Test");
    row.createCell(2).setCellValue(Calendar.getInstance());
    row.createCell(3).setCellValue(Calendar.getInstance().getTime());
    CreationHelper createHelper = wb.getCreationHelper();
    row.createCell(4).setCellValue(createHelper.createRichTextString("This is a string"));

    wb.write(fileOut);

    System.out.println("SUCCESS");
   } catch (Exception ex) {
    System.out.println("Exception " + ex);
   }
 }
}


จากโค้ดจะเห็นว่าเราต้องทำการสร้าง Sheet จากนั้นก็สร้าง Row จากนั้นในแต่ละ Row เราถึงจะสร้าง Cell เมื่อต้องการเซตค่าให้กับแต่ละ Cell ก็เพียงแค่เรียก setCellValue เพียงแค่นี้เราก็ได้ทำการเซตค่าให้กับแต่ละ Cell แล้ว

การใส่ชื่อ sheet name ใน excel แบบปลอดภัยโดยใช้ WorkbookUtil.createSafeSheetName

การใส่ชื่อ sheet name ใน excel แบบปลอดภัยโดยใช้ WorkbookUtil.createSafeSheetName

จากบทความเรื่อง การสร้าง Sheet ใน Excel โดยใช้ Java POI เราได้ทำการสร้างและได้กำหนดชื่อของ sheet แต่ในการตั้งชื่อ sheet นั้นก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ถ้าหากเราตั้งชื่อผิดกฎของมันละก็อาจทำให้เกิด Exception บางอย่างได้ ตัวอย่าง Exception ที่เกิดจากการตั้งชื่อ sheet ดังนั้นบทความนี้เราได้แนะนำ Class ที่ชื่อว่า WorkbookUtil ซึ่งจะมี method ที่ช่วยในการตั้งชื่อให้กับ sheet อยู่ ซึ่งที่เราแนะนำจะเป็น method ชื่อ createSafeSheetName

เรามาดูกันดีกว่าว่า method นี้มีการทำงานอย่างไร ให้เราเข้าไปที่ Class WorkbookUtil เพื่อดูโค้ด จะได้ประมาณนี้

public static final String createSafeSheetName(String nameProposal) {
 return createSafeSheetName(nameProposal, ' ');
}

public static final String createSafeSheetName(String nameProposal,
  char replaceChar) {
 if (nameProposal == null) {
  return "null";
 }
 if (nameProposal.length() < 1) {
  return "empty";
 }
 int length = Math.min(31, nameProposal.length());
 String shortenname = nameProposal.substring(0, length);
 StringBuilder result = new StringBuilder(shortenname);
 for (int i = 0; i < length; ++i) {
  char ch = result.charAt(i);
  switch (ch) {
  case '\0':
  case '\3':
  case '*':
  case '/':
  case ':':
  case '?':
  case '[':
  case '\\':
  case ']':
   result.setCharAt(i, replaceChar);
   break;
  case '\'':
   if ((i == 0) || (i == length - 1)) {
    result.setCharAt(i, replaceChar);
   }

  }

 }

 return result.toString();
}

จากโค้ด เราจะเห็นว่าเมื่อเราเรียก method createSafeSheetName ถ้าเราใส่ชื่อ sheet อย่างเดียว มันจะไปเรียก method อีกตัวหนึ่งที่ชื่อเดียวกันแต่ส่งพารามิเตอร์ต่างกัน ซึ่ง method ที่ใส่ชื่อ sheet name อย่างเดียว จะส่งค่าช่องว่างหนึ่งตัวเข้าไป

ใน method ที่ใส่ทั้ง sheet name และก็ replaceChar จะทำการเช็คก่อนว่าเป็น null กับค่าว่างหรือเปล่า

จากนั้นก็เช็คว่าขนาดความยาวของ sheet name ที่เราใส่เข้าไปมีขนาดเกิน 31 ตัวหรือเปล่าโดยใช้ Math.min จะเห็นว่าถ้าชื่อ sheet ของคุณมีขนาดน้อยกว่าก็เอาขนาดของชื่อ sheet คุณ แต่ถ้าชื่อ sheet คุณมากกว่า 31 ตัวก็เอาค่า 31 มา จากนั้นก็ทำการ substring ซะ (ซึ่งข้อกำหนดของ sheet name ต้องมีขนาดไม่เกิน 31 ตัวอักษร)

จากนั้นก็ทำการ check ว่ามีอักขระพิเศษหรือเปล่าโดยถ้าเจอก็แทนอักขระเหล่านั้นด้วย replaceChar ที่ใส่เข้ามา

เพียงแค่นี้เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะตั้งชื่อ sheet name ผิดกฎ หรือกังวลเกี่ยวกับ Exception ที่เกิดขึ้นจากการตั้งชื่อ sheet name แล้วเพียงแค่ใช้ createSafeSheetName 

29/8/58

Exception java.lang.IllegalArgumentException: Invalid char (:) found at index (11) in sheet name

Exception java.lang.IllegalArgumentException: Invalid char (:) found at index (11) in sheet name

ใครเคยเจอ Exception แบบนี้บ้าง Exception ที่เจอนี้เป็น Exception ที่ผมสร้าง sheet โดยใช้ POI แล้วใส่ชื่อเข้าไป มาดูโค้ดที่ทำให้เกิด Exception นี้กัน

package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;

import org.apache.poi.ss.usermodel.Sheet;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;
import org.apache.poi.xssf.usermodel.XSSFWorkbook;

public class NewSheet {
 public static void main(String[] args) {
  try (
   Workbook wb = new XSSFWorkbook();
   FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xlsx")
  ){
   Sheet sheet1 = wb.createSheet("new sheet 1111111111111111111111111111111111111111111111111");
   Sheet sheet2 = wb.createSheet("new sheet 2:2");

   wb.write(fileOut);

   System.out.println("SUCCESS");
  } catch (Exception ex) {
   System.out.println("Exception " + ex);
  }
 }
}

จากโค้ดนี้ถ้าเราลองสังเกต Exception จะเห็นว่าเป็น Exception ที่เกิดจากการประกาศ sheet name แล้วบอกว่าอักขระ : ไม่ถูกต้องใน index ที่ 11

ถ้าเราลองดูในโค้ดจะเห็นว่ามีการประกาศอักขระ : อยู่ในการสร้าง sheet name ซึ่งอักขระ : เป็นตัวที่ 11 พอดี

ดังนั้น Exception นี้จึงเกิดจากที่เราสร้าง sheet แล้วใส่ชื่อ sheet ผิด ซึ่งเป็นอักขระที่ไม่สามารถใช้ได้ ให้แก้อักขระนี้เสีย แล้วก็จะรันได้

วิธีการแก้ก็ลบออก หรือไม่ก็ใช้ WorkbookUtil.createSafeSheetName ก็ได้

28/8/58

วิธีการตั้งค่า SQL Developer ให้เชื่อมต่อ Mysql ได้โดย Third Party JDBC Drivers

วิธีการตั้งค่า SQL Developer ให้เชื่อมต่อ Mysql ได้โดย Third Party JDBC Drivers

บทความนี้เรามาดูวิธีการตั้งค่าให้ Sql Developer สามารถเชื่อมต่อกับ Mysql ได้กันครับ ซึ่งปกติตัวโปรแกรมของ SQL Developer จะมีช่องทางเชื่อมต่อ Database มาให้คือ Oracle กับ Access แต่ถ้าเราต้องการเชื่อมต่อกับ Database อื่น ๆ ก็สามารถทำได้

ส่วนวิธีการทำนั้นอันดับแรกให้เราไปโหลด MySQL JDBC มาก่อน ซึ่งดาวน์โหลดน์ได้ตามลิ้ง http://dev.mysql.com/downloads/connector/j/

เมื่อดาวน์โหลดแล้วก็ให้เราทำการติดตั้งตัวที่ได้ดาวน์โหลดมา

ต่อไปให้เราเปิดโปรแกรม SQL Developer ขึ้นมาจากนั้นก็ให้เราเข้าไปที่ Tools แล้วเลือก Preferences ตามรูปด้านล่าง


จากนั้นให้ไปที่ Database แล้วเลือก Third Party JDBC Drivers ให้เรากด Add Entry.. เพื่อทำการ Add JDBC อื่น ๆ เข้ามาเพื่อต้องการเชื่อมต่อ ในที่นี้เราได้เลือก MySQL ที่ได้ติดตั้งไว้แล้วก่อนหน้า ซึ่งจะอยู่ที่ C:\Program Files (x86)\MySQL\MySQL Connector J แล้วเลือก mysql-connector-java-5.1.36-bin.jar ตามรูปด้านล่าง


เมื่อได้แล้วให้เรากลับมาที่ New Connection ดูจะพบว่ามี MySQL เพิ่มเข้ามาตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้เราก็สามารถเชื่อมต่อ MySQL ได้โดยใช้โปรแกรม SQL Developer แล้ว ถ้าต้องการ Database อื่น ๆ ก็ให้มา Add JDBC เพิ่ม เพียงแค่นี้ก็สามารถเชื่อมต่อ Database อื่น ๆ ได้แล้ว

การสร้าง Sheet ใน Excel โดยใช้ Java POI

การสร้าง Sheet ใน Excel โดยใช้ Java POI

เรามาดูวิธีการสร้าง Sheet ใน Excel โดยใช้ Java POI กันครับ ซึ่งการสร้าง Sheet เป็นขั้นตอนที่ง่ายมากตามตัวอย่างโค้ดด้านล่างเลย

package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;

import org.apache.poi.ss.usermodel.Sheet;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;
import org.apache.poi.xssf.usermodel.XSSFWorkbook;

public class NewSheet {
 public static void main(String[] args) {
  try (
   Workbook wb = new XSSFWorkbook();
   FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xlsx")
  ){
   Sheet sheet1 = wb.createSheet("new sheet 1");
   Sheet sheet2 = wb.createSheet("new sheet 2");

   wb.write(fileOut);

   System.out.println("SUCCESS");
  } catch (Exception ex) {
   System.out.println("Exception " + ex);
  }
 }
}

จากตัวอย่างโค้ดการสร้าง Sheet ใน Excel เพียงแค่เราเอา Object Workbook ที่มีอยู่มาเรียกใช้คำสั่ง createSheet แล้วใส่ชื่อของ Sheet ที่ต้องการลงไป เพียงเท่านี้ Excel ของเราก็ได้ Sheet ที่ต้องการแล้ว

ตัวอย่างผลลัพธ์ดังรูปด้านล่าง



ข้อควรระวัง
ในการสร้าง Sheet ใหม่นั้นสิ่งที่ต้องใส่ใจมีอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือชื่อของ Sheet ซึ่งมีดังนี้
1. ความยาวชื่อของ Sheet จะมีขนาดไม่เกิน 31 ตัวอักษร
2. ชื่อของ Sheet จะต้องไม่มีอักขระพิเศษดังนี้ 0x0000 0x0003 colon (:) backslash (\) asterisk (*) question mark (?) forward slash (/) opening square bracket ([) closing square bracket (])

การสร้างไฟล์ Excel โดยใช้ Java POI

การสร้างไฟล์ Excel โดยใช้ Java POI

บทความนี้เรามาดูวิธีการสร้างไฟล์ Excel โดยใช้ Java แบบง่าย ๆ กัน ซึ่งในการสร้างไฟล์นั้นจะใช้ Library ที่ชื่อว่า POI หรือที่รู้จักกันในชื่อ Apache POI นั่นแหละครับ

การสร้างไฟล์ Excel XLS

เรามาดูตัวอย่างโค้ดการสร้างไฟล์ Excel โดยใช้ POI แบบแรกกันก่อนซึ่งจะเป็นการสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .xls ตัวอย่างโค้ดตามด้านล่าง

package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;

import org.apache.poi.hssf.usermodel.HSSFWorkbook;
import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;

public class NewWorkbook {
 public static void main(String[] args) {
  try (
   Workbook wb = new HSSFWorkbook();
   FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xls");
  ){
   wb.write(fileOut);
   
   System.out.println("SUCCESS");
  } catch (Exception ex) {
   System.out.println("Exception " + ex);
  }
 }
}

การสร้างไฟล์ Excel XLSX

ตัวอย่างโค้ดแบบที่สองเป็นการสร้างไฟล์ Excel ที่มีนามสกุลเป็น .xlsx ตัวอย่างโค้ดตามด้านล่างครับ
package info.doesystem.tutorial.poi;

import java.io.FileOutputStream;

import org.apache.poi.ss.usermodel.Workbook;
import org.apache.poi.xssf.usermodel.XSSFWorkbook;

public class NewWorkbook {
 public static void main(String[] args) {
  try (
   Workbook wb = new XSSFWorkbook();
   FileOutputStream fileOut = new FileOutputStream("D://Blog/Temp File/workbook.xlsx");
  ){
   wb.write(fileOut);
   
   System.out.println("SUCCESS");
  } catch (Exception ex) {
   System.out.println("Exception " + ex);
  }
 }
}

จากตัวอย่างโค้ดเราจะสร้าง Workbook ไว้ใน Try ซึ่ง java 1.7 สามารถใช้ได้ แต่ถ้าต่ำกว่านี้ก็ให้ใส่ไปข้างในแล้วใช้ close เอานะครับถ้าหากเจอ Error

ตัวอย่างโค้ดทั้งสองโค้ดนี้จะเป็นการสร้างไฟล์ Excel ที่มีนามสกุลเป็น .xls กับ .xlsx ซึ่งจะต่างกันตรงที่ ไฟล์ Excel นามสกุล .xls จะสร้างโดยใช้ HSSFWorkbook ส่วนไฟล์ Excel ที่มีนามสกุลเป็น .xlsx จะสร้างโดยใช้ XSSFWorkbook

จากโค้ดเราแค่สร้าง Object Workbook ขึ้นมา แล้วก็ write ใส่ใน FileOutputStream เพียงแค่นี้เราก็ได้ไฟล์ Excel แบบง่าย ๆ กันแล้ว

26/8/58

การเพิ่ม Password ใน Microsoft Word เพื่อความปลอดภัยเวลาเปิดเอกสาร

การเพิ่ม Password ใน Microsoft Word เพื่อความปลอดภัยเวลาเปิดเอกสาร

บทความนี้เรามาดูวิธีการใส่ password ใน Microsoft Word กันครับ ซึ่งการใส่รหัสผ่านจะเป็นการป้องกันไฟล์เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือไม่มีรหัสผ่านเปิดอ่านไฟล์ได้ครับ

วิธีการนั้นก็ง่าย ๆ เลย เริ่มจากให้ไปที่ File แล้วก็ Info จากนั้นด้านขวามือตรง Permissions ให้เรากดตรง Protect Document แล้วเลือก Encrypt with Password ตามรูปด้านล่าง


จากรูปเมื่อเรากดเข้าไปแล้ว จะปรากฎหน้าต่างเป็น dialog ขึ้นมาให้เราใส่รหัสผ่านที่ต้องการเวลาต้องการเปิดเอกสาร ให้เราใส่รหัสผ่านที่ต้องการลงไป ตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้เอกสารของเราก็ป้องกันการอ่านด้วยการใส่รหัสผ่านเริ่มต้นก่อนการเปิดเอกสาร เพื่อความปลอดภัยเวลาเปิดเอกสารของ Microsoft Word

เมื่อใส่รหัสผ่านแล้วสำหรับคนที่อยากจะเอารหัสผ่านออกก็เข้าไปที่เดิมแล้วลบรหัสผ่าน แค่นี้ก็เป็นการยกเลิกการใช้งานรหัสผ่านแล้วครับ

การตั้งค่าให้ Microsoft Word อ่านได้อย่างเดียว(Read Only)

การตั้งค่าให้ Microsoft Word อ่านได้อย่างเดียว(Read Only)

บทความนี้เรามาดูวิธีการตั้งค่าให้ Microsoft Word อ่านได้อย่างเดียวสำหรับคนที่อยากให้เอกสารไม่สามารถแก้ไขได้กันครับ ซึ่งเอกสารบางอย่างเราไม่อยากให้คนแก้ไขดัดแปลงหรือหากจะแก้ไขดัดแปลงได้ก็ต้องใส่รหัสผ่าน 

ตัวอย่างการนำไปใช้งานอย่างเช่น เราจะส่งเอกสารของนาย ก ให้กับนาย ข แต่นาย ค ต้องรับหน้าที่เป็นคนส่ง เราก็ต้องใส่รหัสผ่านเพื่อป้องกันนาย ค แก้ไขเอกสารนี้เป็นต้น

เมื่อเอกสารที่เราทำเป็น Read Only แล้ว จะมีหัวเอกสารลักษณะดังรูปด้านล่าง

วิธีการทำเอกสารให้อ่านได้อย่างเดียว Read Only


อันดับแรกให้เราเลือกเอกสารที่ต้องการทำเป็น Read Only ก่อนจากนั้นให้กด บันทึก จะปรากฎหน้าต่างบันทึกเอกสารขึ้นมา ตรงด้านล่างข้าง ๆ ปุ่มบันทึกจะมีเมนูให้เลือกอยู่ ให้เราเลือก General Options ตามรูปด้านล่าง


เมื่อเลือกแล้วจะปรากฎหน้าต่างสำหรับตัวเลือกเพิ่มเติม ให้เราใส่ password ตรง password to modify จากนั้นกด ตกลง จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาให้เราบันทึก password ซ้ำอีกรอบหนึ่งเพื่อเป็นการยืนยันรหัสผ่านให้เราใส่รหัสผ่านเดิมอีกครั้ง จากนั้นกดบันทึก

เพียงแค่นี้เราก็ได้เอกสารที่อ่านได้อย่างเดียวแล้ว ลองเปิดเอกสารขึ้นมาดู ก่อนเอกสารจะปรากฎจะแสดงกล่องข้อความดังรูปด้านล่าง


ถ้าเราต้องการแก้ไขด้วยให้ใส่รหัสผ่านแล้วกด Ok แต่ถ้าเราต้องการอ่านอย่างเดียวก็ให้กด Read Only

จากที่เรากด Read Only ขึ้นมาแล้ว แต่ว่าเอกสารก็ยังแก้ไขได้อยู่ดี แต่ไม่สามารถเซฟซ้ำไฟล์เดิมได้ บางคนอาจจะไม่ต้องการให้เป็นแบบนี้ บางคนอาจจะไม่ต้องการให้พิมพ์อะไรเข้าไปได้เลย วิธีแก้ไขก็ให้ไปที่แถบ Review จากนั้นให้กดตรง Restrict Editing จะปรากฎแถบขึ้นมา ตามรูปด้านล่าง


จากรูปเราสามารถเลือกส่วนที่ต้องการแก้ไขได้ในที่นี้ผมเลือก No Changes(Read Only) จากนั้นให้ทำการกด Yes, Start Enforcing Protection เพียงแค่นี้เอกสารของคุณก็ไม่สามารถแก้ไขหรือพิมพ์อะไรลงไปได้แล้ว

25/8/58

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง(Factoring polynomials of degree two)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง(Factoring polynomials of degree two)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง(Factoring polynomials of degree two) ภาคเรียนที่ 2 คณิตศาสตร์เพิ่มเติม

การแยกตัวประกอบของพหุนาม คือ การเขียนพหุนามที่กำหนดให้ในรูปการคูณกันของพหุนามที่มีดีกรีต่ำกว่า ตั้งแต่สองพจน์ขึ้นไป หรือเขียนพหุนามที่กำหนดให้ในรูปที่ง่ายกว่า

การแยกตัวประกอบ

การแยกตัวประกอบโดยใช้สมบัติการแจกแจง

สมบัติการแจกแจงกล่าวว่า ถ้า a, b และ c แทนจำนวนเต็มใด ๆ แล้ว
a(b + c) = ab + ac หรือ (b + c)a = ba + ca

อาจเขียนสมบัติการแจกแจงข้างต้นใหม่ ดังนี้
ab + ac = a(b + c) หรือ ba + ca = (b + c)a

โจทย์ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ 18x3y3 - 27x5y
วิธีทำ
18x3y3 - 27x5y = 9x3y(2y2 - 3x2)

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว

พหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว คือ พหุนามที่เขียนได้ในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นค่าคงที่และ a ≠ 0 และ x เป็นตัวแปร

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b เป็นจำนวนเต็ม และ c = 0

โจทย์ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ -5x2 - 10x
วิธีทำ -5x2 - 10x = -5x(x + 2)

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a = 1, b และ c เป็นจำนวนเต็ม และ c ≠ 0

โจทย์ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ x2 - 28x + 195
วิธีทำ
เนื่องจาก (-13)(-15) = 195
และ (-13) + (-15) = -28
ดังนั้น x2 - 28x + 195 = (x - 13)(x - 15)

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในรูป ax2 + bx + c เมื่อ a, b, c เป็นจำนวนเต็ม และ a ≠ 0, a ≠ 1, c ≠ 0

เรียก ax2 ว่า พจน์หน้า
เรียก bx ว่า พจน์กลาง
เรียก c ว่า พจน์หลัง

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์

พิจารณาโจทย์
x2 + 4x + 4 = (x + 2)(x + 2) = (x + 2)
เราจะเรียกโจทย์ลักษณะนี้ว่า พหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์

ในกรณีทั่ว ๆ ไป ถ้าให้ A แทนพจน์หน้า และ B แทนพจน์หลัง จะแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ได้ตามสูตร ดังนี้

A2 + 2AB + B2 = (A + B)2
A2 - 2AB + B2 = (A - B)2

ข้อสังเกต
1. ลักษณะโจทย์เหมือนกับโจทย์ที่แยกโดยวิธีสามพจน์แยกเป็นสองวงเล็บ
2. สัมประสิทธิ์ของพจน์กำลังสูงสุดต้องเป็น 1
3. พจน์ท้ายเกิดจาก (พจน์กลาง/(2พจน์ต้น))2 บวกเข้า และลบออก
4. จัดกำลังสองสมบูรณ์
5. แยกตัวประกอบต่อโดยใช้ผลต่างกำลังสอง

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง

พิจารณาการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองต่อไปนี้

โจทย์ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ 81x2 - 49
วิธีทำ
81x2 - 49 = (9x)2 - 72 = (9x - 7)(9x + 7)
เราจะเรียกโจทย์ลักษณะนี้ว่า พหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกำลังสอง

ข้อควรจำ
จากสูตร A2 - B2 = (A + B)(A - B)
จำง่าย ๆ
(หน้า)2 - (หลัง)2 = (หน้า + หลัง)(หน้า - หลัง)


ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html

21/8/58

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว(The application of linear equations with one variable)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว(The application of linear equations with one variable)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว(The application of linear equations with one variable)

การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการ(Equation)

สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย "=" แสดงการเท่ากันของจำนวนสองจำนวน สมการอาจมีตัวแปรหรือไม่ก็ได้ เช่น

3x + 10 = 19 (เป็นการเท่ากันของจำนวนหนึ่งคือ 3x + 10 กับอีกจำนวนหนึ่ง คือ 19)
2a + 40 = 80 (เป็นการเท่ากันของจำนวนหนึ่งคือ 2a + 40 กับอีกจำนวนหนึ่ง คือ 80)
11 - 2 = 9 (เป็นการเท่ากันของจำนวนหนึ่งคือ 11 - 2 กับอีกจำนวนหนึ่ง คือ 9)

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียวเขียนอยู่ในรูป ax + b = 0 เมื่อ ax + b เป็นพหุนามดีกรี 1 มี x เป็นตัวแปร a, b เป็นค่าคงที่ และ a ≠ 0

การแก้สมการ

การแก้สมการ คือ การหาคำตอบของสมการซึ่งทำให้สมการนั้นเป็นจริง ซึ่งต้องใช้สมบัติการเท่ากัน ซึ่งได้แก่ สมบัติสมมาตร สมบัติการถ่ายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ

คำตอบของสมการ

คำตอบของสมการ คือ จำนวนที่แทนค่าของตัวแปรในสมการแล้วทำให้สมการเป็นจริง เช่น
3x + 10 = 19, x มีค่าเท่ากับ 3 แล้วทำให้สมการเป็นจริง เรียก x = 3 ว่าเป็นคำตอบของสมการ
2a + 40 = 80, a มีค่าเท่ากับ 20 แล้วทำให้สมการเป็นจริง เรียก a = 20 ว่าเป็นคำตอบของสมการ

ตัวอย่างการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้สมการ คือการหาคำตอบของสมการและทำให้สมการนั้นเป็นจริง ดังนั้นเรามาดูตัวอย่างการแก้สมการเพื่อหาคำตอบของสมการกัน

ตัวอย่าง
จงแก้สมการ 3x + 10 = 19
วิธีทำ
(ถ้าทั้งสองข้างเท่ากันเราก็สามารถนำค่าคงที่มาบวก ลบ คูณ หาร ทั้งสองข้างได้)
3x + 10 - 10 = 19 - 10
3x/3 = 9/3
x = 3 เพราะฉะนั้น x มีค่าเท่ากับ 3
ตรวจคำตอบ
จากโจทย์ 3x + 10 = 19 เมื่อแทน x เท่ากับ 3 แล้วจะได้ 3(3) + 10 = 19 ซึ่งเป็นจริง

หมายเหตุ
การที่จะทราบว่าคำตอบนั้นถูกต้องหรือไม่ก็ลองนำคำตอบนั้นไปแทนค่าในสมการโจทย์ ถ้าทั้งสองข้างเท่ากันจริงก็แสดงว่าเป็นคำตอบของสมการ

โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวต้องเขียนโจทย์สมการเชิงเส้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ โดยสมมติสิ่งที่โจทย์ต้องการให้เป็นตัวแปรแล้วแก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันดังกล่าวข้างต้น

ตัวอย่าง
จำนวนเต็มบวกสามจำนวนเรียงกัน เช่น 3, 4, 5 รวมกันได้ 144 จงหาเลข 3 จำนวนนั้น
วิธีทำ
โจทย์ต้องการรู้ว่าเลขสามจำนวนเรียงกัน ซึ่งเราสมมติว่าตัวเลขแรกคือ x ตัวที่สองก็ต้องเป็น x + 1 ตัวที่สามก็ต้องเป็น x + 2
ดังนั้น จะได้ว่า x + (x + 1) + (x + 2) = 144
เมื่อได้ประโยคสัญลักษณ์แล้วเราก็หาคำตอบของ x โดยการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
x + (x + 1) + (x + 2) = 144
3x + 3 - 3= 144 -3
3x/3 = 141/3
x = 47 คำตอบของสมการคือ x = 47

ดังนั้นเลขสามตัวเรียงกันคือ 47, 48, 49 เมื่อบวกกันแล้วได้ 144

สรุปสูตรสำคัญที่ควรทราบ

สูตรความเร็ว ระยะทาง และเวลา

ความเร็ว = ระยะทาง ÷ เวลา
ระยะทาง = ความเร็ว x เวลา
เวลา = ระยะทาง ÷ ความเร็ว

สูตรการเคลื่อนที่ของสิ่งของสองสิ่ง

ก. เมื่อเคลื่อนที่เข้าหากัน ระยะทาง = เวลา x ผลบวกของความเร็ว
ข. เมื่อเคลื่อนที่ตามกัน ระยะทาง = เวลา x ผลต่างของความเร็ว

สูตรระยะทาง เวลา และกระแสน้ำ

ความเร็วตามน้ำ = ความเร็วในน้ำนิ่ง + ความเร็วกระแสน้ำ
ความเร็วทวนน้ำ = ความเร็วในน้ำนิ่ง - ความเร็วกระแสน้ำ
ความเร็วในน้ำนิ่ง = (ความเร็วตามน้ำ + ความเร็วทวนน้ำ)/2
ความเร็วกระแสน้ำ = (ความเร็วตามน้ำ - ความเร็วทวนน้ำ)/2


ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html

20/8/58

ระบบเมตริก(metric)

ระบบเมตริก(metric)

ระบบเมตริก คือ หน่วยวัดความยาวเป็น มิลลิเมตร เมตร กิโลเมตร หน่วยวัดน้ำหนักเป็นกรัม กิโลกรัม หน่วยวัดอุณหภูมิเป็น เซนติเกรด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นเซลเซียส)

ระบบเมตริก เริ่มใช้กันภายหลังการปฏิวัติในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประชุมร่วมกันจัดตั้งมาตรฐานในการวัดขึ้น พวกนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้นได้ทำการวัด และคำนวณระยะทางจากขั้วโลกเหนือ จนถึงเส้นศูนย์สูตร แล้วแบ่งเป็น 10 ล้านส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า 1 เมตร ระบบเมตริกเป็นระบบที่ใช้สิบหรือทศนิยมเป็นหลักเช่น 10 เซนติเมตรเท่ากับ 1 เดซิเมตร 10 เดซิเมตรเท่ากับ 1 เมตร ความยาว 1 เมตรมาตรฐานทำด้วยแท่งโลหะ เก็บไว้ที่กรุงปารีส

หน่วยวัดความยาวระบบเมตริก

10 มิลลิเมตร = 1 เซนติเมตร
10 เซนติเมตร = 1 เดซิเมตร
10 เดซิเมตร = 1 เมตร
10 เมตร = 1 เดคาเมตร
10 เดคาเมตร = 1 เฮกโตเมตร
10 เฮกโตเมตร = 1 กิโลเมตร

หน่วยวัดน้ำหนักระบบเมตริก

10 มิลลิกรัม = 1 เซนติกรัม
10 เซนติกรัม = 1 เดซิกรัม
10 เดซิกรัม = 1 กรัม
10 เดคากรัม = 1 เฮกโตกรัม
10 เฮกโตกรัม = 1 กิโลกรัม
1,000 กิโลกรัม = 1 เมตริกตันหรือตัน

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การวัด(measurement)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 การวัด(measurement)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการวัด คณิตศาสตร์พื้นฐาน

การวัด

การวัดคืออะไร?

เราเรียกการชั่งน้ำหนักว่า การวัดน้ำหนัก
เราเรียกการตวงว่า การวัดปริมาตร
เราเรียกการจับเวลาว่า การวัดเวลา

ในการวัดแต่ละอย่างนั้นจะมีหน่วยการวัด เช่น
- วัดความยาว จะใช้หน่วยเป็น เซนติเมตร นิ้ว เมตร วา เป็นต้น
- วัดพื้นที่ จะใช้หน่วยเป็น ไร่หรือตารางเมตร เป็นต้น
- วัดปริมาตร จะใช้หน่วยเป็น ลูกบาศก์เซนติเมตร ลูกบาศก์นิ้ว เป็นต้น
- วัดน้ำหนัก จะใช้หน่วยเป็น กิโลกรัมหรือปอนด์ เป็นต้น
- วัดเวลา จะใช้หน่วยเป็น นาที วินาที ชั่วโมง เป็นต้น
- วัดอุณหภูมิ จะใช้หน่วยเป็น องศาเซลเซียสหรือองศาฟาเรนไฮต์ เป็นต้น

จะเห็นว่าในการวัดนั้นการวัดแต่ละอย่างจะมีหน่วยที่ใช้บอกขนาดอยู่ การวัดแต่ละอย่างก็ใช้หน่วยที่ต่างกัน และการวัดเดียวกันก็มีหลายหน่วยให้เลือก

ปัจจุบันเราจะใช้หน่วยวัดระบบ S.I. ซึ่งเป็นหน่วยสากล ส่วนใหญ่ได้แก่ ระบบเมตริก เช่น มีหน่วยวัดความยาวเป็นเมตร หน่วยวัดพื้นที่เป็นตารางเมตร หน่วยวัดปริมาตรเป็นลูกบาศก์เมตร หน่วยวัดมวลเป็นกิโลกรัม หน่วยวัดเวลาเป็นวินาที เป็นต้น

การประมาณค่า

ถึงแม้ว่าการวัดนั้นจะมีการพัฒนาหน่วยการวัด และเครื่องมือวัดที่เป็นมาตรฐานและมีความเที่ยงตรงเพียงใดก็ตาม ค่าที่ได้เหล่านั้นก็เป็นเพียงค่าประมาณที่ได้จากการวัดตามหน่วยวัดที่เหมาะสมเท่านั้น

การประมาณค่า เป็นวิธีการที่ช่วยในการหาผลลัพธ์ของการบวก ลบ คูณ และหารจำนวน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว โดยผลลัพธ์ใกล้เคียงกับคำตอบจริง

เราจะเรียกค่าที่ได้จากการบอกคร่าว ๆ เมื่อค่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นค่าที่แน่นอนหรือค่าที่นำไปใช้ เพื่อความสะดวกในการคำนวณ และให้ได้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วที่ใกล้เคียงกับคำตอบจริงหรือค่าที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งได้จากการประมาณค่าว่า ค่าประมาณ

ค่าประมาณจากการวัด

เพื่อที่จะให้ได้ผลลัพธ์จาการคำนวณรวดเร็ว และใกล้เคียงกับความเป็นจริง เราจะใช้การปัดเศษ และการประมาณค่าเข้ามาช่วยบ้างเป็นบางส่วน ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสมในการประมาณค่าด้วย

การปัดเศษ

การปัดเศษ เป็นการประมาณค่าอย่างหนึ่งโดยที่โจทย์จะต้องกำหนดให้หาค่าประมาณ เช่น ต้องการค่าประมาณจำนวนเต็มสิบ หรือเต็มร้อย หรือค่าทศนิยมตำแหน่งที่ 2, 3 เป็นต้น ผลลัพธ์จาการปัดเศษจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมาก

การประมาณค่ากับจำนวนเต็มสิบ

การประมาณค่ากับจำนวนเต็มสิบให้ดูที่หลักหน่วย ดังนี้
1. ถ้าหลักหน่วยมีค่าต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง เช่น 84 ปัดเป็น 80
2. ถ้าหลักหน่วยมีค่าเท่ากับ 5 หรือสูงกว่า ให้ปัดขึ้น เช่น 85 ปัดเป็น 90

การประมาณค่ากับจำนวนเต็มร้อย

การประมาณค่ากับจำนวนเต็มร้อยให้ดูที่หลักสิบ ดังนี้
1. ถ้าหลักสิบมีค่าต่ำกว่า 50 ให้ปัดทิ้ง เช่น 649 ปัดเป็น 600
2. ถ้าหลักสิบมีค่าเท่ากับ 50 หรือสูงกว่า ให้ปัดขึ้น เช่น 650 ปัดเป็น 700

หมายเหตุ
การประมาณค่ากับจำนวนเต็มพัน เต็มหมื่น ก็ให้พิจารณาในทำนองเดียวกันกับทำนองด้านต้น โดยพิจารณาหลักร้อย หลักพัน ฯลฯ

การปัดเศษเมื่อจำนวนนั้นเป็นทศนิยม

การปัดเศาเมื่อจำนวนนั้นเป็นทศนิยม ให้พิจารณาดังนี้

1. ถ้าต้องการจำนวนเต็มหลักหน่วย ให้ดูทศนิยมตำแหน่งที่ 1 ว่า
- ถ้าต่ำกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง
- ถ้าเท่ากับ 5 หรือสูงกว่าให้ปัดขึ้น
- เช่น 3.4 ปัดเป็น 3 หรือ 3.5 ปัดเป็น 4

2. ถ้าโจทย์ต้องการทศนิยม 1 ตำแหน่ง ให้พิจารณาตำแหน่งที่ 2 ดังนี้
- ถ้าตำแหน่งที่ 2 น้อยกว่า 5 ให้ปัดทิ้ง
- ถ้าตำแหน่งที่ 2 เท่ากับ 5 หรือสูงกว่าให้ปัดขึ้น
- เช่น 6.34 ปัดเป็น 6.3 หรือ 6.35 ปัดเป็น 6.4

หมายเหตุ
- ถ้าโจทย์ต้องการประมาณค่าทศนิยม 2 ตำแหน่งหรือมากกว่า ให้พิจาณาให้ทำนองเดียวกันคือให้พิจาณาตำแหน่งที่ 3, 4, ... 
- การปัดเศษนั้น หาผลลัพธ์จากโจทย์ก่อน แล้วจึงปัดเศษเพื่อหาค่าประมาณเป็นคำตอบ
- การประมาณค่านั้น หาค่าประมาณก่อนแล้วนำไปแก้ปัญหาโจทย์จะได้ผลลัพธ์เป็นคำตอบของการประมาณค่าเลย

การเลือกใช้วิธีการประมาณค่าที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ

เรานำวิธีการประมาณค่ามาใช้เพื่อช่วยในการคำนวณอย่างรวดเร็ว ดังนั้นค่าที่คำนวณได้จึงเป็น ค่าประมาณ การประมาณค่าจึงไม่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาการณ์ที่ต้องการความถูกต้องถ้าเกิดความคลาดเคลื่อนอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น ทางด้านการแพทย์ การคำนวณปริมาณยาที่จะให้กับผู้ป่วย ถ้าใช้การประมาณค่าอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็นต้น

ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html

19/8/58

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 อัตราส่วน ร้อยละและการประยุกต์(Ratios and percentages)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.2 อัตราส่วน ร้อยละและการประยุกต์(Ratios and percentages)

สรุปบทเรียนคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องอัตราส่วน ร้อยละและการประยุกต์ คณิตศาสตร์พื้นฐาน

อัตราส่วน คือ การเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไป
อัตราส่วน a ต่อ b เขียนแทนด้วย a : b หรือ a/b เรียก a ว่าจำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่ง เรียก b ว่าจำนวนหลังหรือจำนวนที่ 2

ตัวอย่าง นักเรียนชาย 22 คน ต่อนักเรียนหญิง 25 คน เขียนได้เป็น 22 : 25 หรือ 22/25

ข้อควรระวัง  อัตราส่วน a : b ไม่เท่ากับ b : a นะ

อัตราส่วนที่เท่ากัน

อัตราส่วนที่เท่ากัน คือ อัตราส่วนที่มีค่าเท่ากัน เช่น 1/2 เท่ากับ 2/4 เพราะเมื่อเราทำ 2/4 ให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำแล้วจะได้เท่ากับ 1/2

การหาเศษส่วนที่เท่ากัน

ในการหาเศษส่วนที่เท่ากันนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1. การหาเศษส่วนที่เท่ากันด้วยวิธีการคูณ จะทำได้โดยการนำจำนวนที่ไม่เท่ากับศูนย์ไปคูณทั้งเศษและส่วน อัตราส่วนใหม่ที่เกิดขึ้นจะเท่ากับอัตราส่วนเดิม
2. การหาเศษส่วนที่เท่ากันด้วยวิธีการหาร จะทำได้โดยการนำจำนวนที่ไม่เท่ากับศูนย์ไปหารทั้งเศษและส่วน อัตราส่วนใหม่ที่เกิดขึ้นจะเท่ากับอัตราส่วนเดิม

การพิจารณาการเท่ากันของอัตราส่วน

การจะพิจารณาว่าอัตราส่วนสองอัตราส่วนใดจะเท่ากันหรือไม่ เราจะมีวิธีการพิจารณาโดยการคูณไขว้ ดังนี้

จากภาพ a : b กับ c : d เราจะทำ a คูณ d และ b คูณ c
1. ถ้า a x d = b x c แล้ว a : b = c : d
1. ถ้า a x d ≠ b x c แล้ว a : b ≠ c : d

อัตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน

อันตราส่วนของจำนวนหลาย ๆ จำนวน เป็นการเปรียบเทียบปริมาณที่มากกว่า 2 ปริมาณ ในรูปของอัตราส่วน

อัตราส่วนร่วม

อัตราส่วนร่วม คือ ค่าของค่า ๆ หนึ่งที่เมื่อเรานำอัตราส่วนหลาย ๆ จำนวนมาพิจารณา จะมีค่าที่ชนิดเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน เราเรียกค่านี้ว่าอัตราส่วนร่วม

การหาอัตราส่วนร่วม

ตัวอย่าง การหาอัตราส่วนร่วม สมมติ หมาต่อแมว เป็น 3 : 5 และแมวต่อไก่เป็น 4 : 7 เราสามารถหาอัตราส่วนร่วมได้ดังนี้

วิธีทำ ค.ร.น. ของ 5 กับ 4 คือ 20
ดังนั้น 3 : 5 = 12 : 20 และ 4 : 7 = 20 : 35
เพราะฉะนั้น อัตราส่วนหมาต่อแมวต่อไก่ คือ 12 : 20 : 35

วิธีคิดลัด ให้เรานำอัตราส่วนมาเขียนก่อน จากนั้นให้ทำการคูณเหมือน ท ทหาร จะได้อัตราส่วนออกมา ตามรูปด้านล่าง

สัดส่วน

สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วน 2 จำนวน
เช่น 3 : 5 = 12 : 20 หรือ 4 : 7 = 20 : 35 หรือ x : y = 3 : 9 หรือ x : 5 = 7 : 10

ในการหาค่าของตัวแปร ที่ไม่รู้ค่า เราสามารถหาค่าได้ จากสัดส่วนโดยใช้สมบัติการเท่ากันของอัตราส่วน 2 อัตราส่วน โดยการคูณไขว้ แล้วจึงทำการแก้สมการ

การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน

ในการแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วนนั้นมีวิธีการดังนี้
1. ให้สมมติตัวแปรของสิ่งที่โจทย์ต้องการหา
2. เปลี่ยนประโยคภาษาให้อยู่ในรูปของประโยคสัญลักษณ์
3. แก้สมการหาคำตอบของตัวแปร

ดูบทเรียนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.doesystem.info/p/mathematics.html

18/8/58

วิธีการตั้งค่าเพื่อแชร์ไฟล์ แบบ Ad Hoc Wireless Computer-to-Computer

วิธีการตั้งค่าเพื่อแชร์ไฟล์ แบบ Ad Hoc Wireless Computer-to-Computer

บทความนี้เรามาดูวิธีการ Set up and Ad Hoc เพื่อแชร์ไฟล์โดยเป็นการแชร์แบบคอมพิวเตอร์ไปคอมพิวเตอร์ผ่านทาง Wireless ซึ่งการแชร์แบบนี้มีข้อดีคือไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมให้ยุ่งยาก

วิธีการแชร์อินเตอร์เน็ตนั้นเริ่มด้วยการ เปิดไปที่ Network and Sharing Center. ถ้าเปิดไม่เป็นก็พิมพ์ตามนี้เลย Control Panel\All Control Panel Items\Network and Sharing Center ตามรูปด้านล่าง


จากนั้นให้คลิกที่ Set up a new connection or network เมื่อคลิกแล้ว จะปรากฎหน้าต่าง Set up a Connection or Network ตามรูปด้านล่าง


จะได้หน้าต่างขึ้นมา Set up and Ad Hoc Netword ขึ้นมาให้เราใส่ Network Name กับ Security Key ลงไป ตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้เราก็ได้ Network สำหรับแชร์ทรัพย์ยากรในเครื่องเราแล้ว

วิธีการติด Google Analytics ใน Blogger

วิธีการติด Google Analytics ใน Blogger

สวัสดีครับ บทความนี้เรามาดูวิธีการติด Google Analytics ใน Blogger กันครับ ซึ่ง Google Analytics เป็นตัวจัดเก็บสถิติ พฤติกรรม และจัดการเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

วิธีการติด google Analytics


เริ่มแรกให้เราเข้าไปที่ Google Analytics ให้เราเลือกบัญชีที่เราต้องการ จากนั้นเลือก .js ข้อมูลการติดตาม เลือก โค้ดติดตาม จากนั้นให้เราก็อบรหัสติดตาม ดังรูปด้านล่าง


เมื่อก็อบเสร็จแล้วให้เราเอาไปใส่ใน Blogger ในส่วนของ Google Analytics

รหัสพื้นที่เว็บของ Google Analytics
เพิ่ม Google Analytics ในบล็อกของคุณเพื่อดูว่าผู้เข้าชมใช้ไซต์ของคุณอย่างไรบ้าง เพิ่ม รหัสพื้นที่เว็บของ Google Analytics เพื่อเริ่มติดตามบล็อกของคุณ การตั้งค่านี้ใช้เฉพาะมุมมองแบบไดนามิกและเทมเพลตการออกแบบ ถ้าบล็อกของคุณใช้เทมเพลตแบบคลาสสิก คุณจะต้องเพิ่มลงในเทมเพลตปกติของคุณด้วยตนเอง

ตามรูปด้านล่าง


เมื่อวานรหัสติดตามลงใน Blogger แล้วต่อไปก็วางโค้ดติดตามกันบ้าง โดยใน Google Analytics ในส่วนของรหัสติดตามที่เป็นโค้ด javascript ให้ก็อบมาใส่ Blogger ตามรูปด้านลาง


จากนั้นให้ไปในส่วนของ Template แล้วทำการแก้ไข HTML เพื่อนำ Script ที่ก็อบมาไปวาง โดยการวางนั้นให้เราทำการค้นหาแท็กปิดของ body นั้นก็คือ </body> แล้ววางด้านบนของแท็กปิด ดังรูปด้านล่าง


ให้ทำการบันทึก Template แค่นี้เราก็ใช้งานได้แล้วครับ วิธีดูว่าใช้ได้หรือเปล่า ให้ไปที่ เรียลไทม์ ของ Google Analytics แล้วลองดูผลครับ

การเพิ่มลบบัญชีเว็บไซต์ออกจาก google analytics(remove a web site from google analytics)

การเพิ่มลบบัญชีเว็บไซต์ออกจาก google analytics(remove a web site from google analytics)

สวัสดีครับ บทความนี้เรามาแนะนำวิธีการลบไซต์ออกจาก Google Analytics กันครับ ซึ่งเมื่อเราไม่ต้องการที่จะติดตามผลวิเคราะห์ของไซต์โดยใช้ google analytics เราก็สามารถลบไซต์ออกได้

Google Analytics คือ

ตัวสถิติ ตัวจัดการเกี่ยวกับเว็บไซต์ เช่น นับคนเข้าเว็บไซต์ รายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนที่เข้ามายังเว็บไซต์ เพื่อให้เราจัดการ ปรับปรุง และแก้ไขเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น

วิธีการเพิ่มไซต์ของจาก Google Analytics

สำหรับการเพิ่มนั้นให้เข้าไปที่ส่วนของผู้ดูแลระบบ จากนั้นตรงบัญชีให้เราเลือกที่ สร้างบัญชีใหม่ ตามรูปด้านล่าง


วิธีการลบไซต์ของจาก Google Analytics

สำหรับการลบนั้นก็เข้าไปที่ส่วนของผู้ดูและระบบเช่นเดียวกัน จากนั้นให้เข้าไปที่ การตั้งค่าบัญชี จากเมนูด้านซ้าย แล้วมองไปด้านขวาบนจะเห็นคำว่า ย้ายไปที่ถังขยะ ตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้เราก็สามารถเพิ่มลบบัญชีและเว็บไซต์ใน Google Analytics ได้แล้วครับด้วยขั้นตอนง่าย ๆ

16/8/58

การจัดการแก้ไข User และการเพิ่ม เปลี่ยนรหัสผ่านใน Windows

การจัดการแก้ไข User และการเพิ่ม เปลี่ยนรหัสผ่านใน Windows

บทความนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ User ใน Windows เช่น การเปลี่ยนชื่อ การใส่รูปภาพ การเพิ่มรหัสผ่าน การเปลี่ยนรหัสผ่าน การเพิ่ม User และอื่น ๆ

อันดับแรกให้เข้าไปที่ Control Panel\All Control Panel Items\User Accounts ซึ่งเป็นส่วนในการจัดการแก้ไขเกี่ยวกับ User ใน Windows ซึ่งจะได้ดังรูปด้านล่าง


การเปลี่ยนชื่อ User

การเปลี่ยนชื่อ User ให้เข้าไปที่ Change your account name ตามรูปด้านล่าง


ให้เราใส่ชื่อที่เราต้องการลงไปในช่องแล้วก็กด Change Name แค่นี้ก็สามารถเปลี่ยนชื่อ account ได้แล้วครับ

การเปลี่ยนรูป User

การเปลี่ยนรูปนั้นให้เรากดเข้าไปที่ Make Changes to my account in PC settings จากนั้นจะขึ้นหน้าจอส่วนของการจัดการ account ขึ้นมาดังรูปด้านล่าง


ให้เราทำการกด Browse เพื่อทำการเปลี่ยนรูปภาพ แค่นี้เราก็เปลี่ยนรูปภาพได้แล้วครับ

การเพิ่มรหัสผ่านให้กับ User

ในการเพิ่มรหัสผ่านนั้นให้ไปในส่วนของ Make Changes to my account in PC settings เหมือนเดิม แล้วดูตรงที่เมนูด้านซ้าย Sign in options จะเกิดดังรูปด้านล่าง


ให้เรากด Add สำหรับเพิ่ม Password ให้กับ User จะปรากฎหน้าต่างแสดงออกมาให้ใส่ Password

การเปลี่ยนรหัสผ่านให้กับ User

เมื่อเราได้ทำการเพิ่มรหัสผ่านให้กับ User แล้วต่อไปถ้าเราต้องการเปลี่ยนเราก็ไปที่หน้าต่างเดียวกับที่ตอนเราเพิ่ม แต่หน้าต่างจะเปลี่ยนรูปแบบไป ตามรูปด้านล่าง


จะเห็นว่าหน้าตาจะเปลี่ยนไป จากคำว่า Add จะเปลี่ยนเป็นคำว่า Change แล้วยังมีเมนูอื่น ๆ ให้จัดการเพิ่มขึ้นอีกด้วย

เห็นไหมละครับ การจัดการกับ User เมื่อต้องการเพิ่ม เปลี่ยนชื่อ ใส่รหัสผ่าน เปลี่ยนรหัสผ่าน user ใน windows ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ

วิธีการ Connect Hidden Wireless Networks ที่ถูกซ่อนไว้

วิธีการ Connect Hidden Wireless Networks ที่ถูกซ่อนไว้

บทความนี้เราจะแนะนำเกี่ยวกับวิธีการ connect กับ wireless ที่ถูกซ่อนไว้ ซึ่งบางครั้ง wireless ถูกซ่อนไว้ ซึ่งมีหลาย ๆ คนรู้สึกว่าปลอดภัยเมื่อซ่อน wireless ไว้เพื่อป้องกันแขกที่ไม่พึงประสงค์

วิธีการเชื่อมต่อ

วิธีการเชื่อมต่อนั้นอันดับแรกให้เราเข้าไปที่ Control Panel\All Control Panel Items\Network and Sharing Center หรือคลิกขวาที่รูป Wireless แล้วเลือก Open Network and Sharing Center จะได้ดังรูปด้านล่าง


เมื่อได้แล้วให้คลิกที่ Set up a new connection or network ที่วงด้วยสีแดง จากนั้นจะปรากฎหน้าต่างดังรูปด้านล่าง


ให้เลือกที่ Manually connect to a wireless network เพื่อ connect wireless หรือ network แบบกำหนดเอง เมื่อเลือกแล้วให้คลิก Next จะได้ดังรูปด้านล่าง


ให้ทำการกรอกรายละเอียดของ wireless หรือ network ที่ซ่อนไว้ เช่นชื่อของ Network และ Security Key เมื่อได้แล้วให้คลิก Next จะได้หน้าต่างที่ขึ้นว่าได้ทำการเพิ่ม Network แล้ว

แค่นี้เราก็สามารถเชื่อมต่อกับ Network หรือ Wireless ที่ถูกซ่อนอยู่ได้แล้ว

เทคนิคการทำ SEO สำหรับ URL ของเว็บไซต์

เทคนิคการทำ SEO สำหรับ URL ของเว็บไซต์

สวัสดีครับ บทความนี้เรามาดูเทคนิคและวิธีการทำ SEO สำหรับ URL ของเว็บไซต์กันครับ ซึ่งหลาย ๆ คนได้รู้กันแล้วว่า URL ของเว็บไซต์นั้นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ Google นำมาจัดอันดับ เพราะชื่อของ URL อาจจะบ่งบอกเนื้อหาของเว็บเพจนั้น ๆ 

วิธีการทำ URL ของเว็บไซต์นั้นมีหลาย ๆ แบ หลายคนอาจจะสงสัย และเกิดคำถามขึ้นมาว่าแบบไหนดีกว่ากัน ทำให้ URL ยาว ๆ หรือสั้น ๆ หรือแบบลึก ๆ เข้าไปหลาย ๆ ชั้นหรือจะทำเป็น subdomain ดี แบบไหนดีกว่ากัน บทความนี้เรามาหาคำตอบกันคับ

ส่วนต่าง ๆ ของ URL

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักส่วนต่าง ๆ ของ URL กันก่อนครับ ซึ่งส่วนต่าง ๆ นั้น แสดงได้ดังรูปด้านล่าง


ส่วนต่าง ๆ ของ URL ก็ได้แสดงดังรูปเราจะเรียกส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. Protocal
2. Subdomain
3. Root Domain
4. Top-Level Domain
5. Subfoder/Path
6. Page
7. Parameter
8. Named Anchor

เทคนิคและเคล็ดลับในการทำ SEO ให้กับ URL

- ให้ใช้ URL ที่สั้นที่มนุษย์สามารถอ่านและเข้าใจได้
- ถ้าเป็นไปได้ให้ใส่เนื้อหาภายใต้โดเมนเดียวกันเพื่ออำนาจของเว็บไซต์จะได้สูงขึ้น ตัวอย่างแนะนำให้ใช้ http://www.doesystem.info/blog ดีกว่า http://www.blog.doesystem.info/

การทำ SEO เกี่ยวกับ Pagination

การทำ SEO เกี่ยวกับ Pagination

สวัสดีครับ บทความนี้เรามาดูวิธีการทำ SEO เกี่ยวกับ Pagination กันครับ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเคยเจอ หรือเคยทำแบบว่า มีข้อมูลเยอะมาก แต่ต้องการที่จะแบ่งข้อมูลออกเป็นหน้า ๆ หน้าละเท่ากัน

ตัวอย่างเช่น

มีข้อมูลอยู่ 200 ข้อมูล การจะโชว์ข้อมูลออกมาหมดทีเดียว 200 ข้อมูลนั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น ไม่นิยม และเป็นวิธีการที่ไม่ฉลาดเอาเสียเลย ส่วนมากเค้าจะทำเป็นหน้า ๆ หรือใช้การโหลดแบบใช้ Ajax เอา แต่ในบทนี้เราจะทำการแบ่งออกเป็นหน้า ๆ ตัวอย่างเราแบ่งเป็น 10 ข้อมูลดังนั้นก็จะมีข้อมูลอยูทั้งหมด 20 หน้า หน้าละ 10 ข้อมูล

หน้าแรก จะมีข้อมูล 1-10
หน้าที่สอง จะมีข้อมูล 11-20
หน้าที่สาม จะมีข้อมูล 21-30
...

และวิธีการจะบ่งบอกให้ Search Engine รู้ว่าเราแบ่งข้อมูลออกเป็น paging นั้นให้เรากำหนดโดยใช้

rel="next" เพื่อบอกให้ Search Engine รู้ว่าลิ้งต่อไปเป็นลิ้งที่เป็นหน้าถัดไป
rel="prev" เพื่อบอกให้ Search Engine รู้ว่าลิ้งก่อนหน้าเป็นลิ้งที่เป็นหน้าก่อนหน้า

ตัวอย่างการใช้

การใส่ SEO ให้กับ paging สมมติว่าอยู่หน้า 2


<link rel="prev" href="http://www.doesystem.info/page/1">
<link rel="next" href="http://www.doesystem.info/page/3">

จากตัวอย่างนี้เราต้องใส่ rel="prev" เพื่อเป็นลิ้งไปยังลิ้งก่อนหน้าและใส่ rel="next" เพื่อเป็นลิ้งไปยังหน้าต่อไป

13/8/58

java.lang.NoClassDefFoundError: org/apache/poi/wp/usermodel/Paragraph

java.lang.NoClassDefFoundError: org/apache/poi/wp/usermodel/Paragraph

วันนนี้ได้มีโอกาศได้ทำเกี่ยวกับ POI การสร้างเอกสาร Microsoft Word โดยการใช้ Lobrary ที่เรียกกันว่า POI ซึ่งในตอนกำลังเขียนโค้ดอยู่นั้นลองกดรัน กลับมี Error เกิดขึ้นมาว่า

Exception in thread "main" java.lang.NoClassDefFoundError: org/apache/poi/wp/usermodel/Paragraph
 at java.lang.ClassLoader.defineClass1(Native Method)
 at java.lang.ClassLoader.defineClassCond(ClassLoader.java:631)
 at java.lang.ClassLoader.defineClass(ClassLoader.java:615)
 at java.security.SecureClassLoader.defineClass(SecureClassLoader.java:141)
 at java.net.URLClassLoader.defineClass(URLClassLoader.java:283)
 at java.net.URLClassLoader.access$000(URLClassLoader.java:58)
 at java.net.URLClassLoader$1.run(URLClassLoader.java:197)
 at java.security.AccessController.doPrivileged(Native Method)
 at java.net.URLClassLoader.findClass(URLClassLoader.java:190)
 at java.lang.ClassLoader.loadClass(ClassLoader.java:306)
 at sun.misc.Launcher$AppClassLoader.loadClass(Launcher.java:301)
 at java.lang.ClassLoader.loadClass(ClassLoader.java:247)
 at org.apache.poi.xwpf.usermodel.XWPFTableCell.(XWPFTableCell.java:93)
 at org.apache.poi.xwpf.usermodel.XWPFTableRow.getTableCells(XWPFTableRow.java:160)
 at org.apache.poi.xwpf.usermodel.XWPFTableRow.(XWPFTableRow.java:48)
 at org.apache.poi.xwpf.usermodel.XWPFTable.(XWPFTable.java:109)
 at org.apache.poi.xwpf.usermodel.XWPFDocument.createTable(XWPFDocument.java:865)
 at helpwork.SpecWord.createTableForBean(SpecWord.java:36)
 at helpwork.SpecWord.main(SpecWord.java:22)
Caused by: java.lang.ClassNotFoundException: org.apache.poi.wp.usermodel.Paragraph
 at java.net.URLClassLoader$1.run(URLClassLoader.java:202)
 at java.security.AccessController.doPrivileged(Native Method)
 at java.net.URLClassLoader.findClass(URLClassLoader.java:190)
 at java.lang.ClassLoader.loadClass(ClassLoader.java:306)
 at sun.misc.Launcher$AppClassLoader.loadClass(Launcher.java:301)
 at java.lang.ClassLoader.loadClass(ClassLoader.java:247)
 ... 19 more

เมื่อลองค้นหาวิธีการแก้ไขก็ได้ว่าต้องแก้ไขโดยการไปดาวน์โหลด Library อื่นมาเพิ่มเติมซึ่งขาดอยู่นั่นกคือ hamcrest-core-xxx.jar

ดังนั้นใครที่เกิดปัญหานี้ลองไปดาวน์โหลดhamcrest-core-xxx.jar มาใส่ดูครับ พอใส่เสร็จแล้วคราวนี้ก็รันโค้ดได้แบบสบายใจละ

12/8/58

ตั้งค่า wordpress ให้ url ยาว ๆ เพราะปกติมันจะตัดให้สั้น

ตั้งค่า wordpress ให้ url ยาว ๆ เพราะปกติมันจะตัดให้สั้น

เคยไหม ตั้งชื่อบทความเป็นภาษาไทย แล้ว url ของ wordpress นั้นดันตัดให้เหลือนิดเดียว ไม่เต็มคำ แถม wordpress ยังตัดคำแบบอ่านไม่รู้เรื่องเช่น

เราต้องการตั้งชื่อบทความว่า

เซตค่าให้สามารถตั้งชื่อ url เป็นภาษาไทยยาว ๆ

แต่ใน wordpress กลับตัดคำให้เหลือ

เซตค่าให้สามารถตั้งชื่อ url เ

ดังนั้นเรามาดูวิธีการแก้ไขกันครับ เริ่มจาก

เข้าในใน Database ที่เราเก็บข้อมูลของ wordpress ไว้ครับ จากนั้นให้มองหาตาราง posts ซึ่งปกติจะมีคำนำหน้าซึ่งแล้วแต่ละคนจะตั้ง จากนั้นให้ดูในคอลัมน์ที่มีชื่อว่า post_name ให้เปลี่ยนขนาดตามต้องการปกติจะเป็น 200


จากในตัวอย่างผมได้เปลี่ยนคอลัมน์ post_name จากเดิมที่เป็น varchar(200) ให้เป็น varchar(2000) ซึ่ง 2000 นี่เป็นขนาดที่ยาวมากแล้ว(ขนาดนี้แล้วแต่คนจะใส่)

เมื่อเปลี่ยนในเบสแล้วต่อไปเราก็มาเปลี่ยนในโค้ดกันบ้าง ให้เราเข้าไปที่โฟลเดอร์ที่ใช้เก็บ wordpress จากนั้นเข้าไปที่ wp-includes จากนั้นก็หาฟล์ที่มีชื่อว่า formatting.php ให้ทำการกดขึ้นมาแก้ไข

ให้ค้นหาคำว่า utf8_uri_encode จากนั้นให้เปลี่ยนค่าที่จากเดิมเป็น 200 ให้เป็นขนาดตามที่เราได้แก้ไขใน Database มาก่อนหน้านี้


จากตัวอย่างผมได้เปลี่ยน จาก 200 เป็น 2000 ซึ่งเป็นค่าที่ผมได้เปลี่ยนใน Database ก่อนหน้านี้ตรง post_name เพียงแค่นี้เราก็ได้ url ที่ยาวขึ้นแล้วครับ

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าค่าเริ่มต้นของ wordpress ได้เซตให้ไว้แค่ 200 ซึ่งเกินพอสำหรับ url เริ่มต้นของ wordpress แต่สำหรับภาษาไทยการจะตั้ง url ให้เหมือนกับ title นั้นมีส่วนช่วยในเรื่องของอันดับใน google หรือที่เรียกว่า seo ดังนั้นค่า 200 จึงสั้นเกิน

วิตามินบี 12 (vitamin b12) ได้มาจากอะไรบ้าง

วิตามินบี 12 (vitamin b12)

วันนี้ได้ซื้อน้ำนมถั่วเหลืองมากิน แล้วด้านข้างกล่องเขียนว่ามีวิตามินบี 12 สูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง เลยอยากหาข้อมูลว่าวิตามินบี 12(vitamin b12) เนี่ยมันคืออะไร วิตามินบี 12 มีประโยชน์อะไรบ้าง และวิตามินบี 12 ได้มาจากอะไร มีมากในอาหารประเภทไหน

จากการศึกษาสรุปเรื่องเกี่ยวกับวิตามินบี 12 ได้ว่าประมาณนี้

ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับวิตามินซะก่อน

วิตามิน หรือบางคนอาจจะออกเสียงว่า ไวตามิน (vitamin) คือสารอาหารที่มีหน้าที่ช่วยในการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย การขาดวิตามินอาจเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย

วิตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้ ถ้าหากขาดวิตามินอาจจะทำให้ร่างกายเราทำงานผิดปกติและเกิดโรคต่าง ๆ ได้

วิตามิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
- วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค
- วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 หรือเรียกว่า ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ

วิตามินบี 12 มีประโยชน์อะไรบ้าง?
- มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และป้องกันโรคโลหิตจาง
- มีส่วนสำคัญในการช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- มีส่วนในการสร้างกรดนิวคลีอิค(nucleic acid) ซึ่งเป็นพื้นฐานของกรรมพันธุ์
- มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบโฮเดตร ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์
- ช่วยในการเจริญเติบโตของเด็ก และการต้านทางโรค

วิตามินบี 12 ได้มาจากอะไร และมีมากในสารอาหารประเภทไหน?
วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง ดังนั้นร่างกายจะได้วิตามินบี 12 มาจากอาหาร ซึ่งอาหารที่มีวิตามินบี 12 มาก นั่นคือ อาหารจากสัตว์ เช่น ตับ นม ไข่ เนย แหล่งอาหารที่เป็นแหล่งที่มาของวิตามินบี 12 ที่แนะนำได้แก่
- ตับของลูกวัว
- ปลาซาร์ดีน
- ปลากะพง
- เนื้อกวาง
- กุ้ง
- ปู
- กุ้งก้ามกราม
- คาเวียร์
- หอยสแกลลอบ
- ปลาแซลมอน
- หอยกาบ
- หอยนางรม
- หอยแมลงภู่
- เนื้อวัว
- เนื้อแกะ
- โยเกิร์ต
- นมวัว
- ชีสไข่

ถ้าหากขาดวิตามินบี 12 จะเป็นอย่างไร?
จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าถ้าหากขาดวิตามินอาจทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ และอาจทำให้เกิดต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ถ้าหากขาดวิตามินบี 12 จะทำให้เกิดโรคโลหิตจาง

วิธีแก้ wordpress ตั้งชื่อรูปเป็นภาษาไทย แล้วรูปไม่ขึ้นครับ

วิธีแก้ wordpress ตั้งชื่อรูปเป็นภาษาไทย แล้วรูปไม่ขึ้นครับ

เคยเป็นกันไหมทำ wordpress แล้วดันใส่ชื่อรูปเป็นภาษาไทย จากที่ทำมาก็ปกติดี แต่อยู่ ๆ วันหนึ่งเกิดย้ายโฮส แล้วทำการก็อบปี้ไฟล์ด้วย filezilla ย้ายมาทั้งหมดทั้งโพลเดอร์ทั้งรูป แต่เกิดปัญหาคือ

รูปที่เป็นภาษาไทยไม่แสดง ทั้ง ๆ ที่ก็ทำการก็อปปี้มาแล้ว

สาเหตุ เกิดจากเวลาก็อปปี้ไฟล์แล้วชื่อรูปดันเปลี่ยน

วิธีแก้คือ ตั้งค่า charset ให้เป็น UTF-8 ส่วนวิธีตั้งก็ตามรูปด้านล่าง

อันดับแรกก็ให้เราไปที่ Site Manager ในส่วนของ Charset ให้เลือกเป็น UTF-8


เพียงเท่านี้เราก็สามารถย้ายไฟล์ที่มีชื่อเป็นภาษาไทยได้แล้วครับ

10/8/58

Error loading WSDL Could not find type datetime@http://www.w3.org/2001/XMLSchema

Error: Could not find type 'datetime@http://www.w3.org/2001/XMLSchema'. Do you mean to refer to the element named dateTime@http://schemas.xmlsoap.org/soap/encoding/ (in soapEncoding.xsd)?

เคยเจอเออเร่อแบบนี้ไหม??

Error แบบนี้เกิดจาก datetime ซึ่งจะแสดงข้อความใน Soap UI ดังรูปด้านล่าง



เมื่อลองหาสาเหตุแล้วจะพบว่าสิ่งที่ทำให้เกิด Error loading WSDL ชนิดนี้ก็คือบันทัดนี้

@XmlSchemaType(name = "datetime")

ซึ่งก็คือเขียน datetime ผิด ต้องเป็น dateTime ตัวทีตัวใหญ่

เมื่อแก้แล้วจะได้แบบนี้

@XmlSchemaType(name = "dateTime")

เพียงแค่นี้เราก็สามารถแก้ปัญหา Error loading WSDL Could not find type datetime@http://www.w3.org/2001/XMLSchema ได้แล้วครับ

6/8/58

การเปิดหรือปิด Windows Firewall

การเปิดหรือปิด Windows Firewall

เรามาดูวิธีการเปิด และการปิด Windows Firewall กันครับ

Firewall เป็นซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ป้องกันข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่าย แล้วทำการบล็อกหรืออนุญาติให้ข้อมูลนั้นเข้ามายังเครื่องของเรา ทั้งนี้อยู่ที่เราจะกำหนดค่า

Firewall จะช่วยป้องกันไวรัสหรือซอฟแวร์ที่เป็นอันตรายต่อคอมของเราให้เข้ามายังเครื่องของเราได้ได้ ทั้งนี้ยังป้องกันไม่ให้ซอฟแวร์หรือไวรัสที่เป็นอันตรายในเครื่องของเราเข้าไปยังเครื่องอื่นอีกด้วย


การเปิดหรือปิด Windows Firewall

ให้เข้าไปที่ Control Panel\All Control Panel Items\Windows Firewall จากนั้นด้านซ้ายจะมีเมนูที่มีข้อความว่า Turn Windows Firewall on or off


จากนั้นเมื่อคลิกเข้าไปจะมีมีส่วนของการตั้งค่าว่าจะให้เปิดหรือปิด Windows Firewall ตามรูปด้านล่าง


เพียงแค่นี้เราก็ได้ตั้งค่าแล้วว่าจะให้เปิดหรือปิด Windows Firewall แต่แนะนำให้เปิดไว้ดีกว่านะเพื่อป้องกันไวรัสและซอฟแวร์อันตราย

4/8/58

java Convert Date to XMLGregorianCalendar and XMLGregorianCalendar to Date

java Convert Date to XMLGregorianCalendar and XMLGregorianCalendar to Date


หลาย ๆ ที่เขียนภาษาโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น java หรือภาษาอื่น ๆ ท่านอาจจะเคยประสบปัญหากับการแปลงชนิดของข้อมูลที่มีข้อมูลแบบเดียวกัน แต่ชนิดดันกลายเป็นคนละอย่างซะนี่ ดังนั้นการจะเอาค่าจากชนิดหนึ่งไปอีกชนิดหนึ่งจึงต้องทำการแปลงชนิดของข้อมูลกันซะก่อน

Convert Date to XMLGregorianCalendar

ตัวอย่างโค้ดจาวาการแปลงจาก Date เป็น XMLGregorialCalendar

import java.util.Calendar;
import java.util.Date;
import java.util.GregorianCalendar;

import javax.xml.datatype.DatatypeFactory;
import javax.xml.datatype.XMLGregorianCalendar;

public class DoesystemInfo {
 public static void main(String[] args) {
  try{
   Date mydate = Calendar.getInstance().getTime();
   
   GregorianCalendar gCalendar = new GregorianCalendar();
   gCalendar.setTime(mydate);
   XMLGregorianCalendar xmlCalendar = DatatypeFactory.newInstance().newXMLGregorianCalendar(gCalendar);
   
   System.out.println(xmlCalendar);
  }
  catch(Exception ex){
   System.out.println("Exception When Convert Date to XMLGregorianCalendar By Doesystem.info");
  }
 }
}

Convert XMLGregorianCalendar to Date

ตัวอย่างโค้ดจาวาการแปลง XMLGregorianCalendar เป็น Date

import java.util.Calendar;
import java.util.Date;
import java.util.GregorianCalendar;

import javax.xml.datatype.DatatypeFactory;
import javax.xml.datatype.XMLGregorianCalendar;

public class DoesystemInfo {
 public static void main(String[] args) {
  try{
   Date mydate = Calendar.getInstance().getTime();
   
   GregorianCalendar gCalendar = new GregorianCalendar();
   gCalendar.setTime(mydate);
   XMLGregorianCalendar xmlCalendar = DatatypeFactory.newInstance().newXMLGregorianCalendar(gCalendar);
   
   System.out.println(xmlCalendar);
   
   // Convert XMLGregorianCalendar to Date
   Date xmlToDate = xmlCalendar.toGregorianCalendar().getTime();
   System.out.println(xmlToDate);
  }
  catch(Exception ex){
   System.out.println("Exception When Convert Date to XMLGregorianCalendar By Doesystem.info");
  }
 }
}

จากตัวอย่างโค้ดทั้งสอง เรามาดูตัวอย่างการแสดงผลกันเมื่อรันโค้ดนี้กันครับ

2015-08-04T23:55:56.654+07:00
Tue Aug 04 23:55:56 ICT 2015

การเซตค่า PDO ใน PHP ติดต่อฐานข้อมูล MySQL ภาษาไทย

การเซตค่า PDO ใน PHP ติดต่อฐานข้อมูลภาษาไทย

สวัสดีครับ บทความนี้เรามาดูวิธีการเขียน PHP เป็นการติดต่อฐานข้อมูลโดยใช้ PDO กันครับ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเกิดปัญหาว่า เวลาดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลแล้ว ภาษาไทยอ่านไม่ออก เป็นเครื่องหมายคำถาม ?? หรืออ่านไม่รู้เรื่อง

ตัวอย่างวิธีการติดต่อก็คือ

<?php
 class PDOConnect{
  private $host;
  private $userhost;
  private $passhost;
  private $database;
  private $pdo;

  public function __construct(){
   $this->host = "localhost";
   $this->userhost = "root";
   $this->passhost = "doesysteminfo";
   $this->database = "doesysteminfo";
  }

  public function getConnect(){
   try {
    $this->pdo = new PDO("mysql:host={$this->host};dbname={$this->database};charset=UTF8", $this->userhost, $this->passhost);
    $this->pdo->exec("set names utf8");
   } catch (Exception $e) {
    echo $e;
   }
   return $this->pdo;
  }
 }
?>
แค่นี้เราก็สามารถติดต่อฐานข้อมูลเป็นภาษาไทยได้แล้ว